top of page
Search
Khun Nunlada

มาช่วยลูกฝึกการออกเสียงภาษาอังกฤษที่บ้านกันอะไรคือการออกเสียงภาษาอังกฤษ? - Help with phonics at home

(English version below)


การออกเสียงภาษาอังกฤษ (phonics) คือการที่เรารู้ว่าเสียงและตัวอักษรสัมพันธ์กัน นั่นคือความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พูดกับเรื่องที่อ่านหรือเขียน การออกเสียงช่วยให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษเบื้องต้นเรียนรู้การถอดรหัสเสียงของอักษรต่างๆ เช่น เด็กๆ รู้ว่าอักษร D ออกเสียง “เดอะ” ในคำว่า “doll” เมื่อผสมเสียงของอักษรตัวอื่นๆ เข้าด้วยกัน เด็กก็จะรู้ว่า dog ออกเสียงอย่างไร


การออกเสียงภาษาอังกฤษสำคัญอย่างไร

การออกเสียงภาษาอังกฤษช่วยให้เด็กๆ เข้าใจสิ่งที่ตนอ่านได้อย่างรวดเร็วโดยไม่สะดุดเพราะการพยายามสะกดคำ การช่วยให้เด็กๆ สามารถออกเสียงภาษาอังกฤษได้แต่เนิ่นๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การอ่านเป็นเรื่องง่าย หากเด็กๆ ไม่ได้เริ่มเรียน หรือไม่เข้าใจ “phonics” มาตั้งแต่ต้น การอ่านภาษาอังกฤษในชั้นเรียนที่สูงขึ้นก็จะเป็นเรื่องยาก


โรงเรียนสอน phonics ให้ลูกเราอย่างไร?

โรงเรียนสอน phonics แบบเป็นระบบ และเป็นขั้นเป็นตอน ที่โรงเรียนครูจะให้เด็กๆ ทำแบบฝึกหัด เราเริ่มจากการอ่านหนังสือง่ายๆ ซึ่งมีตัวอักษรที่พวกเขากำลังเรียนอยู่ ผู้ปกครองช่วยเด็กๆ ฝึกเพิ่มเติมที่บ้านได้ด้วยหนังสือแบบเดียวกัน หรือชวนเด็กๆ ไปยืมหนังสือจากห้องสมุดที่โรงเรียนมาอ่าน นอกจากนี้ผู้ปกครองสามารถส่งเสริมการเรียน phonics ที่บ้านโดยปฏิบัติดังนี้

  • ทำงานร่วมกับคุณครู – ผู้ปกครองสอบถามรายชื่อหนังสือที่เด็กๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เรียนในโรงเรียน โดยตรวจสอบกับคุณครูว่ากำลังเรียนถึงตัวอักษรใด และแลกเปลี่ยนประเด็นข้อกังวลใจหรือสอบถามเพิ่มเติมกับคุณครูโดยตรง

  • อ่านออกเสียง – เลือกหนังสือที่ลูกสนใจ และอ่านออกเสียงตามอักษรด้วยความกระตือรือร้น

  • จดจำลักษณะและชื่ออักษรแทนหน่วยเสียงพยัญชนะ – ผู้ปกครองสามารถช่วยเด็กๆ ในการจดจำตัวอักษรทั้งที่เรียงกันและสลับตำแหน่งกันเพื่อให้เกิดความทรงจำระยะยาวได้ว่าตัวอักษรแต่ละตัวหน้าตาและหน่วยเสียงเป็นอย่างไร หน่วยเสียงที่ถูกต้องของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กเป็นอย่างไร และเพื่อให้เข้าใจการออกเสียงที่ถูกต้อง ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้ทาง website นี้ https://sightwords.com/phonemic-awareness/sound-pronunciations/

  • จับคู่เสียงกับตัวอักษรด้วยภาพ – เด็กๆ อาจไม่คุ้นเคยกับหน้าตาตัวอักษรภาษาอังกฤษ แต่ภาพเป็นสิ่งที่จดจำและทำความคุ้นเคยได้ง่ายกว่า การศึกษาด้านประสาทวิทยาพิสูจน์แล้วว่ามนุษย์รำลึก และจดจำภาพได้แม่นจำและรวดเร็วกว่าการอ่านข้อความหรือตัวหนังสือ ดังนั้นการเชื่อมโยงภาพกับหน่วยเสียงของตัวอักษรจึงเป็นเทคนิคช่วยกระตุ้นความทรงจำได้ เช่นภาพผลแอปเปิ้ลที่อยู่ข้างๆ ตัวอักษร ‘A’ จะช่วยสร้างความเชื่อมโยงให้เด็กๆ จำได้ว่า ‘A’ ออกเสียงเป็น apple ส่วน ‘B’ คือ ball และ ‘C’ คือ cat

  • เขียนตัวอักษรบนกระดาษหรือทราย – การฝึกเขียนเป็นการเรียนรู้ผ่านการสัมผัสที่ช่วยพัฒนาทักษะหลักด้านการอ่านและการเขียนได้ สำหรับเด็กฐานกาย (คือกลุ่มเด็กที่เรียนรู้ได้ดีผ่านการสัมผัสและเคลื่อนไหว) การลากตัวอักษรบนกระดาษด้วยสีเทียน หรือการเขียนด้วยนิ้วบนผืนทรายช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ได้ดีกว่าการอ่านหรือให้ฟังเสียง การฝึกเขียนซ้ำๆ ช่วยให้เกิดการจำได้ว่าเสียง “p” ต่างจาก “q”, “b” และ “d” อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อพวกเขาคิดถึงตัวอักษร พวกเขาจะจินตนาการได้ทั้งภาพและการออกเสียงของตัวอักษรนั้นๆ

  • จำตัวอักษรคำแรกที่ออกเสียงเหมือนกัน –เด็กๆ สามารถพัฒนาทักษะการอ่าน และการสะกดคำด้วยสัญชาตญาณ ด้วยการเรียนรู้วิธีการออกเสียงตัวอักษรในแบบต่างๆ เช่นเมื่อพวกเขาเรียนออกเสียงตัว “B” คำศัพท์ที่มีตัว B ก็จะพรั่งพรูออกมาเช่น “bat”, “ball”, “bubble” เป็นต้น เมื่อเรียนรู้คำศัพท์ที่มีอักษรตัวแรกเป็นเสียงเดียวกัน เด็กๆ ก็เริ่มสร้างความเชื่อมโยงและฝึกฝนการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเสียงและอักษรตัวแรกของคำศัพท์ ในที่สุดพวกเขาก็จะสามารถอ่านคำที่ไม่เคยเจอมาก่อนได้

  • จำตัวอักษรกลางคำที่ออกเสียงเหมือนกัน – เสียงกลางคำ เช่นเสียงสระ “a” ในคำว่า “sat” เป็นเสียงสระที่เด็ก ๆ จะได้เรียนออกเสียงเพื่อช่วยให้สามารถร้อยคำเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างเสียงโดยสัญชาตญาณ ถ้าเด็กๆ จำเสียงกลางคำหรือเสียงในคำเช่น “cap” และ “cake” ได้ พวกเขาก็จะสามารถอ่านและสะกดคำได้อย่าเป็นธรรมชาติ

  • จำตัวอักษรสุดท้ายของคำที่ออกเสียงเหมือนกัน – อักษรลงท้ายต่างๆ ออกเสียงอย่างไรเมื่ออยู่ท้ายคำ ถ้าคำหนึ่งขึ้นต้นด้วย “S” มี “a” เป็นอักษรตรงกลาง การออกเสียงคำคำนี้จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับอักษรที่ลงท้ายคำ เราสอนให้เด็กๆ หัดออกเสียงคำต่างๆ ด้วยการผันอักษรสุดท้ายที่มีเสียงต่างกัน เพื่อขยายคลังคำศัพท์ได้เช่น “sat”, “sad”, “Sam”, “sap” นอกจากนี้เด็กๆ ยังสามารถเรียนรู้การลงท้ายคำด้วยเสียงที่คล้ายกัน หรือเหมือนกันแต่สร้างคำที่มีความหมายต่างกันเพิ่มขึ้นได้เช่น “sat”, “rat”, “bat”, “cat” และอื่นๆ อีกมากมาย

  • ใช้คำคล้องจองและกลุ่มคำที่มีเสียงสระเดียวกัน และมีรูปแบบตัวสะกดแบบเดียวกัน เป็นวิธีสร้างคลังคำศัพท์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลองบอกลูกว่า “วันนี้เราจะมาทำความรู้จักครอบครัวคุณ ‘op’ ” และคุณก็ชวนเด็กๆ ผสมคำที่มีอักษร “op” ประกอบและออกเสียงตรงตามตัว จนได้คำที่มีเสียงคล้องจองกันเช่น “hop”, “mob”, “stop”, “cop”, “drop” และอื่นๆ อีกมากมาย จำไว้ว่าการใช้ภาพประกอบการระหว่างเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการเชื่อมโยงภาพกับความหมายของคำใหม่ที่ได้ยิน

  • ออกเสียงด้วยข้อความง่ายๆ เรื่องเล่าสั้นๆ ตลก และเรียบง่ายนอกจากจะช่วยเสริมทักษะการอ่านให้เด็กๆ แล้วยังช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ phonics เพราะพวกเขาจะภาคภูมิใจในตนเองที่สามารถและเข้าใจเรื่องราวเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง

  • ฟังลูกอ่านทุกวัน – หากลูกสะกดคำไม่ได้ ให้พวกเขาอ่านออกเสียง แต่ถ้าออกเสียงแล้วก็ยังอ่านออกให้ช่วยอ่านเพื่อไม่ให้พวกเขาเสียกำลังใจ

  • เขียนรายการคำคล้องจอง – การพัฒนาทักษะการเขียนเมื่ออ่านหนังสือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้ปกครองสามารถให้เด็กๆ ทำแบบฝึกหัดด้วยการเขียนคำที่มีเสียงคล้องจองจากหนังสือที่อ่าน ในระหว่างที่พวกเขากำลังสร้างคลังคำศัพท์ก็ให้ฝึกจินตนาการด้วยการให้ทำแบบฝึกหัดเขียนเรื่องเล่าของตนเองขึ้น วิธีนี้กระตุ้นให้เด็กๆ สนใจอยากเรียนรู้คำใหม่ๆ และฝึกสะกดคำเหล่านั้นเพื่ออธิบายตนเองได้ดีขึ้น

  • เพิ่มพูนความเข้าใจจากเรื่องที่อ่าน

    • ในภาพรวม ตลอดช่วงเวลาที่อ่านหนังสือกับลูกให้ใช้คำถามปลายเปิด เช่น ลูกคิดว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร? การใช้คำถามปลายเปิดช่วยให้เกิดบทสนทนาและสร้างคำศัพท์จากเรื่องที่อ่านได้

    • ก่อนที่จะเริ่มอ่าน ให้ลูกดูภาพในหนังสือและถามลูกว่า “ลูกคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นในเรื่องนี้?” การคาดเดาเรื่องจากภาพช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ ใช้ความรู้เดิมที่มีในการเชื่อมโยงภาพกับเรื่องในหนังสือซึ่งจะก่อให้เกิดการคาดเดาถึงสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในเรื่อง

    • ในขณะที่อ่านหนังสือ ปิดประโยคที่อ่านบางส่วน หรือหยุดอ่านกลางคันและลองถามลูกว่า “ลูกคิดว่าคำต่อไปคืออะไร?” หรือถามว่า “ตัวละครตัวนี้ชื่อว่าอะไร?” คำถามเหล่านี้จะช่วยให้ลูกสามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนขึ้นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้ เด็กจะสนใจเรื่องที่อ่านมากขึ้น คำถามจะช่วยกระตุ้นความจำจากเรื่องที่อ่าน การอ่านเรื่องในบทต่อๆไปจะน่าสนุกขึ้น และเด็กๆจะรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในเรื่องที่อ่านมากขึ้น ผู้ปกครองสามารถหาคำตอบด้วยการพลิกหน้าหนังสือเพื่อหาคำตอบไปพร้อมๆ กับลูกด้วยก็ได้

    • คำถามอื่นๆ ที่น่าใช้ในการสนทนากับลูกเวลาอ่านหนังสือเช่น “ลูกคิดว่าตัวละครตัวนี้เป็นอย่างไร?” หรือ “เราจะทำอย่างไรหากเรื่องนี้เกิดขึ้นกับเรานะ?” หรือ “เราเคยเจอสถานการณ์นี้มาก่อนไหม?” เด็กๆ จะเริ่มคิดต่อยอดว่าตนเองจะตัดสินใจเหมือนตัวละครในเรื่องหรือไม่ และพวกเขาจะเริ่มสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครในเรื่องใหม่ได้

    • เมื่ออ่านเรื่องจบ ลองถามลูกว่า “หากเรื่องนี้เล่าจากมุมมองของตัวละคร…เรื่องจะเป็นอย่างไร?” การถามเช่นนี้ช่วยพัฒนาทักษะการให้เหตุผล และลูกก็จะเริ่มสร้างความเชื่อมโยงระหว่าตัวละคร ฉากและโครงเรื่องใหม่หากเรื่องนี้ถูกเล่าจากมุมมองของตัวละครอื่น

    • อีกคำถามที่น่าสนใจคือ “ลูกสร้างตอนจบของเรื่องนี้ใหม่ได้ไหม?” การถามเช่นนี้ช่วยให้ลูกทำความเข้าใจเรื่องใหม่ ลูกต้องคิดถึงโครงเรื่องในมุมต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องจากมุมมองอื่นๆ เมื่อลูกคุ้นเคยกับการเปลี่ยนมุมมองของเรื่องที่อ่านจนมีความเชี่ยวชาญแล้ว เราสามารถถามลูกได้ว่า “ลูกสร้างตอนจบของเรื่องนี้ใหม่โดยให้ตัวละครแก้ปัญหาในเรื่องด้วยวิธีอื่นได้อย่างไร?”

  • อ่านเรื่องที่คุ้นเคยใหม่ – ลองให้ลูกอ่านหนังสือเรื่องเดิมที่ชอบสมัยยังเป็นเด็กอีกครั้ง

  • ส่งต่อความสุข – แสดงให้ลูกเห็นว่าคุณให้คุณค่ากับการอ่านด้วยการวางหนังสือหรือนิตยสารไว้ตามที่ต่างๆ ในบ้าน การสอนเรื่องการออกเสียงภาษาอังกฤษนำไปสู่การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านไปตลอดชีวิตได้


_________________________________________________


What exactly is phonics?


Phonics is knowing that sounds and letters have a relationship. In other words, it is the link between what we say and what we can read and write. Phonics offers beginning readers the strategies they need to sound out words. For example, kids learn that the letter D has the sound of "d" as in "doll". Then they learn how to blend letter sounds together to make words like dog.


Why is it important?

Phonics help kids to understand what they read, to do it quickly and automatically, without stumbling over words. Helping kids learn phonics is a necessary part of helping them to learn how to read. And because it is such a critical foundational skill, it’s imperative to teach kids how to pick it up early. Without a firm grasp of phonics, second, third and fourth graders can easily fall behind in reading.


How does your child's school teach phonics?

Systematically and sequentially. Teachers give children plenty of practice before moving on. Your child will read short, easy books, containing the particular letter sounds or words they're working on. You can help them practice by providing similar books at home, or encourage them to borrow books from the school library.

Here are more ways you can reinforce phonics learning at home:

  • Team up with the teacher. Ask how you can highlight phonics and reading outside of class, what you child is currently working on, and share any concerns you have. 

  • Read aloud. Choose books on topics that excite your child, and read enthusiastically, using different voices for each character.

  • Recognise and Name the Letters of the Alphabet. You must help kids recognise the letters in order and at random, so they form long-term memories of what each letter looks and sounds like. Help them associate each letter, both upper- and lower-case, with the correct sound! For the correct sounds of the letters, please visit this page: https://sightwords.com/phonemic-awareness/sound-pronunciations/

  • Match the Sound to the Letters with the Help of Pictures. The letters of the alphabet might be foreign to your child, but pictures are something they can recognise and remember easier. Neuroscience proves that humans are better and faster at recalling visual images than text or words. So, pairing the sounds and letters of the alphabets with a visual representation can build what we call a mnemonic association. The image of an apple next to the letters helps them remember the sound of the letter – ‘A’ for apple, ‘B’ for ball, ‘C’ for cat, etc.

  • Trace Each Letter on Paper or In Sand. The tactile process of writing out the letters helps develop many core foundations for reading and writing. Tracing the letters in crayons or sand can also help kids who are kinaesthetic learners learn and retain information better than reading and listening to them! Writing out the letters over and over and can also help them remember the difference between similar-looking letters like “p” and “q,” and “b” and “d.” By doing this, when they think of a letter, they can not only imagine and pronounce the sound of it but also imagine its shape in their minds.

  • Recognise Words that Begin with the Same Sound. By learning their letters and differentiating how they sound, kids can learn to intuitively read and spell words that made up of the same letters. When learning the letter “B” for example, lists of words that contain the “B” sound can include “bat,” “ball,” “bear,” “bubble,” and so on. By learning words that start with the same letter, kids are building and practising associations. By applying a sound to the beginnings of words with that letter, they start to learn how to spell words they’ve never read before.

  • Recognise Words that Have the Same Medial Sound. A medial sound or letter is in the middle of a word. In the word “sat,” the medial letter is the vowel “a.” Teaching kids the vowels and how they sound and how to pronounce them can help kids intuitively string letters together to make sounds. If they can recognise the medial letter or sound in words like “cap,” and “cake,” they can naturally learn how to spell and read words.

  • Recognise Words that End the Same. How do different letters sound when they’re at the end of words? If the word begins with “S,” and the medial letter is “a,” how will the sound be different depending on the letter at the end? Teach kids similar words with different ending sounds, like “sat,” “sad,” “Sam,” “sap,” to help them learn how ending sounds of words differ. Learning how words end similarly also helps in this. They can now read and learn words that end similarly, like “sat,” “rat,” “bat,” “cat,” and so on.

  • Use Rhyming Words and Word Families. We call groups of rhyming words word families or phonograms and these are an excellent way of developing vocabulary quickly. Tell you child “Today we are going to meet the “op” family.” Then you learn all the different combinations of letters that form short and straightforward words that rhyme with “op.” “Hop,” “mop,” “stop,” “cop,” “drop,” etc. are just a few! Remember, as they’re learning these new words, they should also learn with images to help them associate each word to its meaning.

  • Sound Out Words in Simple Text. Short, fun stories with simple words cannot only help improve your child’s reading ability and speed but also help them feel rewarded for their efforts learning. Reading excerpts themselves and being able to understand them is one of the best motivators to help kids learn phonics.

  • Listen to your child read EVERY DAY. If your child stumbles on a word, encourage them to sound it out. But if they still can't get it, provide the word so they don't get discouraged.

  • Write Lists of Rhyming Words. As you read, it’s also essential to develop writing skills. Set kids exercises to list rhyming words that they remember. As they build their vocabulary, get them also to exercise their imaginations, and write their own stories! This may even encourage them to look up and learn new words and how to spell each one in order to express themselves best!

  •  Boost comprehension.

    • In general, try to keep your questions open-ended (for example, ask "What do you think this story is about?" instead of, “Do you think this story is about a superhero?”). Open-ended questions help conversation and vocabulary building.

    • Before you read, ask questions like, “What do you think might happen in this story?”. This question helps children think about clues from the title and illustrations, and encourages them to think about any background knowledge they have on the story’s topic to make predictions.

    • While you read, cover a word or part of the sentence with your hand and ask questions like “What word do you think should come next?”. You can also ask “What was that character’s name again?” This helps them to better answer more complex comprehension questions later on, boosts attention and memory skills and will help make the rest of the book far more engaging and enjoyable. If necessary, flip back through the pages to find the answer together.

    • Another kind of question is “Which words do you think best describe this character?” Your child may begin to decide if they would make the same decisions as that character, and consider the relationships between characters.

    • “Does anything in this book seem familiar to you?” helps them to better understand what’s happening around them.

    • After you read, ask “How could this story be different if it was told from X (another character)’s point of view?” This encourages your child’s reasoning skills. If you tell it from another character’s point of view, the plot might change and your child will need to consider how the characters, setting, and structure are connected.

    • Another question after reading could be “Can you make up a different ending to this story?” Your child will need to think about the story to answer this question, and will also need to think comprehensively about the various routes the plot could have taken.

    • For the more advanced reader, you may even ask, “Can you create an ending to the story that shows how the characters solved the problem in a different way?”

  • Revisit familiar books. Encourage your child to re-read favourite books from earlier years.

  • Spread the joy. Show your child how much you value reading by having plenty of books and magazines around the house. You will teach phonics as well as cultivate a lifelong love of reading.


แหล่งที่มาของบทความ / Sources:


259 views0 comments

Comments


bottom of page